วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

อาจารย์ให้ดูนิทาน เรื่อง กับดักหนู

หนูตัวหนึ่งแอบมองลอดรอยแตกของกำแพง
เพื่อดูว่าชาวนากับภรรยาของเขาแกะห่ออะไร
“จะเป็นอาหารอะไรหนอ” เจ้าหนูสงสัย
มันแทบล้มทั้งยืน เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นคือ‘กับดักหนู’
มันจึงวิ่งหัวซุกหัวซุน
ไปที่ทุ่งนา แล้วส่งเสียงร้องเตือน
“มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! ”
แม่ไก่ร้องกุ๊กๆ และคุ้ยเขี่ยไปมา มันผงกหัวขึ้นแล้วพูดว่า
“คุณหนู นี่คงเป็นเรื่องเศร้าสำหรับเธอ แต่มันไม่มีผลอะไรกับฉันหรอกนะ อย่ากวนใจกันเลย”
เจ้าหนูวิ่งไปหาหมูและบอกแก่มัน
“ มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! ”
หมูเห็นอกเห็นใจ แต่ก็พูดว่า
“ ฉันขอโทษนะคุณหนู แต่ฉันคงทำได้แค่สวดมนต์เท่านั้น ไม่ต้องห่วงฉันจะสวดมนต์ให้เธอด้วย”
เจ้าหนูวิ่งไปหาวัว และพูดว่า
“ มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! “
วัวตอบว่า “ โธ่! คุณหนู ฉันก็เสียใจด้วยนะ แต่มันไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับฉันนี่ ”
ดังนั้น เจ้าหนูจึงกลับเข้าบ้าน
นอนลงและเศร้าใจเหลือเกิน
ที่จะต้องเผชิญหน้ากับกับดักหนูเพียงลำพัง
กลางดึกคืนนั้น
เสียงๆ หนึ่งดังก้องไปทั้งบ้าน ฟังเหมือนเสียงกับดักหนูได้จับเหยื่อของมันแล้ว
ภรรยาของชาวนารีบรุดไปดูว่าอะไรที่ถูกจับ
ในความมืดนั้นเธอไม่เห็นว่ามีงูพิษถูกกับดักนั้นหนีบหางเอาไว้
งูกัดภรรยาของชาวนา ชาวนาจึงรีบพาเธอไปส่งโรงพยาบาล
ตอนกลับบ้านเธอมีไข้สูง ใครๆ ก็รู้ว่าเราต้องพยาบาลคนป่วยด้วยซุปไก่
ดังนั้นชาวนาจึงหยิบขวานเดินไปที่ทุ่งเพื่อฆ่าไก่มาทำซุป
แต่อาการป่วยของภรรยาก็ยังไม่ดีขึ้น
เพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านต่างมาเยี่ยมดูใจ
เพื่อเลี้ยงอาหารพวกเขา ชาวนาจึงฆ่าหมูซะ
ภรรยาของชาวนาก็ยังไม่หาย ในที่สุดเธอก็ตายลง
ผู้คนมากมายต่างมางานศพของเธอ
ชาวนาจึงฆ่าวัวเพื่อให้ได้เนื้อมากพอมาเลี้ยงแขก
เจ้าหนูมองลอดรอยแตกของกำแพงด้วยความเสียใจสุดแสน
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าคราวหน้า หากคุณรู้ว่าใครสักคน กำลังเผชิญปัญหาและคิดว่าไม่เกี่ยวกับคุณสักหน่อยจำไว้นะว่า เมื่อพวกเราคนใดคนหนึ่งถูกคุกคาม เราทุกคนต่างตกอยู่ในอันตราย!เพราะทุกคนล้วนเกี่ยวพันกันอยู่ในการเดินทางที่เรียกว่า ‘ชีวิต’ เราต้องคอยเฝ้าดูแลกันและกัน และพยายามให้กำลังใจอีกคนเข้าไว้
ดูโทรทัศน์ครู การสอนแบบ Project Approach โรงเรียนเกษมพิทยา

ครูสาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์



Assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย มีความเป็นระเบียบ

Self Evaluation
มาเรียนสาย ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรม

Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนสายเป็นบางคน

Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนสนุก มีแนะนำเทคนิคเพิ่มเติมในการสอนอยู่ตลอดเวลา
และเตรียมความพร้อมมาเป็นอย่างดีในการสอน อธิบาย คอมเม้น เข้าใจง่าย คอยแนะนำ สาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อที่จะนำการสอนที่ถูกต้องไปใช้สอน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

กิจกรรมการสอนเคลื่อนไหวและจังหวะ  (วันพุธ - ศุกร์) 
ตามหน่วยการเรียนรู้
1. หน่วย ยานพาหนะ
2. หน่วย ผักสดสะอาด
3. หน่วย ครอบครัวของฉัน
4. หน่วย สัตว์น่ารัก
5. หน่วย ข้าว


สอนกิจกรรมเคลื่อนไหมและจังหวะ หน่วย "ครอบครัวของฉัน"




ทำกิจกรรม BBL




กิจกรรมการเรียนรู้แบบ BBL

BBL (Brain-based Learning) คือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ โดยมีที่มาจากศาสตร์การเรียนรู้ 2 สาขา คือ
- ความรู้ทางประสาทวิทยาสาท
- แนวคิด ทฤษฎีการเรียน



การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้แบบ BBL
1. จัดตกแต่งห้องเรียนให้มีสีเขียว เหลือง เป็นส่วนใหญ่
2. ห้องเรียนและบริเวณรอบๆ ห้องเรียนมีต้นไม้ร่มรื่น
3. จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมกัน กระตุ้นการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
4. จัดให้มีสถานที่ อุปกรณ์ต่างๆ อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
5. จัดให้มีการเรียนรู้จากของจริง ประสบการณ์ตรงโดยผ่านประสาททั้ง 5 
(การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การได้ชิม การสัมผัส)


Assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย มีความเป็นระเบียบ

Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรม

Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา

Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนสนุก มีแนะนำเทคนิคเพิ่มเติมในการสอนอยู่ตลอดเวลา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม 2560 (เรียนชดเชย)

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

ความรู้ที่ได้

สอนเคลื่อนไหวและจังหวะ ผู้นำ-ผู้ตาม (วันอังคาร)


กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ "หน่วยอาหารดีมีประโยชน์"


1. การเคลื่อนไหวแบบไม่เคลื่อนที่ 
คือ การเคลื่อนไหวที่ร่างกายไม่ต้องเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง ได้แก่ การก้มตัว การยืดเหยียดตัว การบิดตัว การหมุนตัว การโยกตัว การแกว่งหรือหมุนเวียน การโอเอน การดัน การสั่น และการตี

2. การเคลื่อนไหวแบบเคลื่อนที่
มีพื้นฐานอยู่ 8 อย่าง คือ
การเดิน การวิ่ง การกระโดดเขย่ง การกระโจน กระโดดสลับเท้า การสไลด์ การควบม้า


หมายเหตุ
ไม่ได้มาเรียน คัดลอกมาจาก นางสาวปรางชมพู บุญชม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

เพื่อนสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ (วันจันทร์)



ผู้นำ-ผู้ตาม



ยกตัวอย่างและสาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์

เราได้หัวข้อหน่วยมาจากไหน
1. สาระการเรียนรู้
2.ใกล้ตัวเด็ก มีผลกระทบกับเด็ก
3. สิ่งที่เด็กสนใจ

ทำไมถึงต้อง ทำมายแม็ป 
เพื่อให้รู้ว่ามีอะไรบ้างเป็นเนื้อหาที่เด็กจะได้เรียนรู้ ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ

Assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย มีความเป็นระเบียบ


Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรม

Evaluation for classmated
เพื่อนตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา และมีงานมาส่งตามที่ได้รับมอบหมายให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนสนุก เตรียมวัสดุอุปกรณ์มาเป็นอย่างดีในการที่จะสาธิตการสอนให้นักศึกษาดู อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและมองเห็นภาพสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้จริง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3


การนำหลักสูตรแกนกลางมาจัดเป็นหลักศูตรสถานศึกษา
หลักสูตรแกนกลางต้องมีพัฒนาการ
ร่างกาย >>>การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก
อารมณ์ >>> การแสดงและรับรู้ความรู้สึก
สังคม   >>>  การช่วยเหลือตัวเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่น
สติปัญญา >>>  ภาษา คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา

การบูรณาการเรียนรู้ ต้องผสมผสานให้เข้ากัน บูรณาการจะอยู่บนพื้นฐานการใช้ชีวิตประจำวัน


การประเมินพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก ต้องมีเกณฑ์ในการประเมิน
- สังเกต
- ผลงาน
-สนทนา

ความสัมพัธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวเด็กต้องใช้
-สมุดพก
- สารสัมพันธ์ผู้ปกครอง

สาระสำคัญ จะมีเนื้อหา และทักษะต่างๆ แบ่งเป็น 2 อย่าง
1. ประสบการณ์สำคัญ (สิ่งที่เด็กปฏิบัติ)
2. สาระที่ควรรู้ (เป็นเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก บุคคลและสถานที่ ธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก)

อาจารย์ให้ทำมายแม็ปก่อนลงมือเขียนแผนการเคลื่อนไหวและจังหวะ "หน่วยครอบครัวของฉัน"






Assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย มีความเป็นระเบียบ


Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรม

Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา

Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นโดยแบ่งกลุ่มให้เขียนมายแม็ปก่อนจะลงมือเขียนแผนเคลื่อนไหวและจังหวะ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhE2AQ2S86l2KIvBez6VEwPdUeph1xAJL4MFUbBzRPrmcZJd6m-vCc6b1EDUf-k-z-WsX87y2fuV5xjw8UcPZOXaNwY_zYRBDeXriDcLFxj9KE0BFEeNNZiixsfdrigqBRWDDGt5t6ZQvo/s1600/
การจัดการชั้นเรียน
ที่นั่ง สะท้อนปรัชญา แนวการสอน

สถานการณ์
เมื่อต้องจัดแถวเด็กเป็นวงกลมกะทันหัน

เทคนิคที่ใช้
1. ให้เด็กยืนแถวตอนลึก
2. ใช้เพลงในการจัดแถว
( ยืนให้ตัวตรง    ก้มหัวลงปรบมือแผละ
   แขนซ้ายอยู่ไหน  หันหลังไปทางนั้นแหละ )   
แล้วให้เด็กที่ยืนแถวกลางเดินไปจับมือเพื่อนที่อยู่ด้านข้าง

ประสบการณ์
เพื่อให้เด็กมีอิสระในการเลือกปฏิบัตินำไปสู่การปรับโครงสร้างของสมองเกิดเป็นความรู้ใหม่
การเรียนรู้เพื่ออยู่รอด

การเสริมสร้างวินัย

เทคนิค

การใช้เพลง เก็บของ
เก็บ เก็บ เก็บ     มาช่วยกันเก็บของสิ
เร็วคนดี              มาเก็บเข้าที่เร็วไว


ของเล่นเก็บให้เป็นระเบียบ      จะเรียบร้อยโดยฉับพลัน
พวกเราจะต้องช่วยกัน               ทุกวันเก็บของเล่นให้ดี


เพลงเข้าแถว      
เข้าแถว เข้าแถว     อย่าล่ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชียน       ระวังเดินชนกัน เข้าแถวทันว่องไว

เพลงเก็บเด็ก

1. เพลงจากโรงเรียนวัดไตร
    เอามือวางไว้ที่หัวช่างหน้ากลัวหน้ากลัวจริงๆ      
    เอามือวางไว้ที่ไหล่ช่างไฉไลไฉไลจริงๆ
    เอามือวางไว้ที่อกช่างตลกตลกจริงๆ                   
    เอามือวางไว้ที่ตักช่างน่ารักน่ารักจริงๆ

2. เพลงจากโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
    ตบมือแปะ แปะ      เลือกแพะเข้ามา
    แพะไม่มา               เอามือปิดปาก รูกซิป

3.  เพลงจากโรงเรียนเกษมพิษ
     นั่งตัวตรงๆ เอามือลงไว้ที่ตัก
     เด็กๆที่น่ารักต้องรู้จักตั้งใจฟัง
     ต้องรู้จักตั้งใจดู   ต้องรู้จักฟังคุณครู 

4. เพลงจากโรงเรียนสาธิตจันทรเกษม
    ปิดหูซ้ายขาว ปิดตาสองข้าง ปิดปากเสียบ้าง และนั่งสมาธิ

5. เพลงจากโรงเรียนวัดไตร
    ปลาวาพ้นน้ำเป็นฝอย       ปลาเล็กปลาน้อยว่ายน้ำตามมา
    ปลาวาฬนับ 1 2 3 (ซ้ำ)     ใครว่ายตามมาปลาวาฬจับตัว

6. เพลงจากโรงเรียนวัดไตร
    สวัสดีแบบไทยๆ       แล้วก็ไปแบบสากล
    สวัสดีทุกๆคน           แบบสากลและก็แบบไทย


Assessment (ประเมิน)


Classroom Evaluation
ห้องเรียนสะอาด แอร์เย็นสบาย มีความเป็นระเบียบ


Self Evaluation
มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรม

Evaluation for classmated
เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน มาเรียนตรงตามเวลา

Evaluating teacher
อาจารย์มาสอนตรงเวลา สอนสนุก มีการสาธิตให้ดูในการจัดแถวเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและคิดหาเทคนิคต่างๆมาใช้